วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

กฎหมายและจริยธรรมสำหรับวิชาชีพคอมพิวเตอร์

บทที่ 1

บทที่ 1 จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ



   ปัจจุบันองค์กรณ์ต่างๆนิยมนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับหน้าที่ทางธุรกิจเกือบทั้งหมด เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสร้างความได้เปรียบคู่เเข่ง ซึ่งข้อมูลต่างๆ ขององค์กรณ์ เป็นข้อมุลที่ต้องรักษาเป็นความลับ ครบถ้วน สมบรูณ์ มีความพร้อมใช้ ถูกต้องเเม่นยำ และเป็นส่วนตัว เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ ให้รอดพ้นจากการโจมตีของภัยคุกคามชนิดต่างๆ จากภายนอกและภายในองค์กร

  วิธีการหนึ่งที่จำช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามประเภทดังกล่าวได้ คือ "การสร้างจริยธรรม (Ethics)"

 

จริยธรรม (ETHICS)



  –   หลักของความถูกต้องและไม่ถูกต้อง ซึ่งถูกใช้เป็นตัวแทนของหลักในการปฏิบัติตนของบุคคล

  

  –   ความสัมพันธ์ของหลักทางศีลธรรม อันได้แก่ ความดีและความชั่ว

ความถูกต้องและไม่ถูกต้อง หรือหน้าที่และกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม


 –   เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของ “ปรัชญา” ที่เกี่ยวข้องกับหลักในการ


ปฏิบัติตนของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมหรือหมู่คณะใดๆ



–   หลักการประพฤติปฏิบัตินั้นได้กระทำสืบเนื่องกันเรื่อยมาจากอดีตจน

กลายเป็นประเพณีปฏิบัติในสังคมหรือหมู่คณะนั้นๆดังนั้น

 “หลักจริยธรรม” จึงเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคนในสังคม


จริยธรรม เป็นหลักประพฤติปฎิบัติของบุคคลในสังคมใดๆ (ไม่บังคับใช้ แต่เกิดจากการปลุกฝัง สร้างจิตสำนึก เป็นเรื่องของการแสดงออกทางกาย วาจา)

         จริย - คือการเเสดงออกทางกาย วาจา ของมนุษย์
         ธรรม - คือธรรมชาติของมนุย์ที่มีกาย วาจา เป็นสื่อภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

ศีลธรรม เป็นการประพฤติที่ดีที่ชอบ เป็นการประพฤติปฎิบัติในทางศาสนา

จรรณยาบรรณ เป็นการประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
      
  สรุปได้ว่า.. จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics) เป็นมาตรฐานที่องค์กรธุรกิจใช้เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติต่อลูกค้าตลอดจนหุ้นส่วนทางการค้า และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยความยุติธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ก็เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกด้านจริยธรรมขององค์กรนั่นเอง




จริยธรรมทางธุรกิจสำคัญอย่างไร 

  จากการดำเนินธุรกิจโดยไม่มีจริยธรรมเป็นบทเรียนให้องค์กรหันมาให้ความสนใจในด้านนี้มากขึ้น โดยให้เหตุผลว่า หากองค์กรดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม จะทำให้เกิดผลดี 5 ประการ ดังนี้
  1.  ได้ค่านิยมหรือมีค่าความนิยมเพิ่มมากขึ้น
  2.  การดำเนินงานในองค์กรมีความสอดคล้องกัน
  3.  เพิ่มผลกำไรใหJกับธุรกิจ
  4.  ป้องกันองค์กรและพนักงานจากการดำเนินการทางกฎหมาย
  5.  หลีกเลี่ยงข่าวในแง่ลบได้
การเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจในองค์กร
   
  ความเสี่ยงของพฤติกรรมที่ขัดกับหลักจริยธรรมมีแนวโนJมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจ


นำมาซึ่งความเสียหายแก่องค์กร ดังนั้นหลายองค์

กรในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจ ด้วยกิจกรรมต่างๆ

ดังต่อไปนี้



1.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร
เจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร คือ ผู้จัดการระดับอาวุโส ทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางที่เกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติของธุรกิจ โดยทำหน้าที่บูรณาการจริยธรรมขององค์กร นโยบาย กิจกรรมการปฏิบัติตมกฎหมาย และหลักปฏิบัติของธุรกิจ ให้เข้ากับกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินงานทุกระดับขององค์กร


2.กำหนดมาตรฐานทางจริธรรม
เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจขององค์กรดำเนินไปด้วยความโปร่งใส ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทางอุตาหกรรม และไม่มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง


3.กำหนดจรรณยาบรรณขององค์กร
เป็นการประกาศประเด็นด้านจริยธรรมและระบุหลักการปฏิบัติที่สำคัญต่อองค์กรและการตัดสินใจในระดับต่างๆ ทำให้มั่นใจว่าพนักงานจะปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับด้านอุตสาหกรรม และทำงานด้วยวิธีการที่โปร่งใส ไม่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่องค์กร


4.ให้มีการตรวจสอบทางสังคม
เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรณ์สามารถดำเนินนโยบายทางสังคมที่ได้กำหนดในอดีตได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่ผิดพลาดในอนาคต


5.กำหนดเงื่อนไขทางจริยธรรมไว้ในแบบประเมินพนักงาน

เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายจริยธรรมทางธุรกิจ บางองค์กรอาจเพิ่มเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในแบบประเมินพนักงานเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดจริยธรรมของพนักงาน

จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
   
  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความนิยมใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเเพร่หลาย ทำให้ผุ้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนตัวแบบออนไลน์ได้เป็นจำนวนมาก ความไว้วางใจในระบบสารสนเทศก็มีมากขึ้นทำให้มีความเสี่ยงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลกระทบต่อจริยธรรม

ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเด็นด้านจริยธรรมได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มดังกล่าวทำให้กฎหมายล้าสมัย สังคมเกิดความขัดแย้ง พลเมืองมีแรงจูงใจในการทำผิดศีลธรรมมากขึ้น โดยแนวโน้มของเทคโนโลยีสำคัญที่เป็นสาเหตุหลัก   ได้แก่
  1. ขีดความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้น
  2.  ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้อมูล
  3.  ความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ข้อมูล
  4.  ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต








ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศกับพฤติกรรมที่ขัดหลักจริยธรรม

  ด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ  ทําให้หลายองค์กรมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลของลูกค้าอย่างเหมาะสมการรักษาความลับของลูกค้าตลอดจนการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น  นอกจากนี้ยังรวมถึงประเด็นการหาผู้รับผิดชอบเมื่อมีผู้ได้รับความเสียหายจากการใช้ระบบสารสนเทศในทางที่ผิดด้วยอีกทั้งยังพบพฤติกรรมหลายอย่างที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายกลุ่มกระทํากันอย่างกว้างขวางโดยไม่คํานึงถึงหลักจริยธรรม


จริยธรรมสำหรับผู้ใช้ไอที
   
 ประเด็นด้านจริยธรรมสําหรับผู้ใช้ไอที

        1. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟตแวร์ ( Software Piracy)  คือ การทำซ้ำหรือดัดแปลง  การเผยเเพร่ซอฟต์เเวร์ต่อที่สาธารณะชนการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาซอฟต์แวร์  ตลอดจนการแสวงหากำไรจากซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือโดยไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายตามลิขสิทธิ์ที่กำหนดไว้             
            
        2. การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม  เช่น  การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆในเวลางาน เข้าเว็บไซต์ลามก  อนาจาร  ดาวน์โหลดภาพยนต์  เพลง  โดยใช้อินเทอร์เน็ตขององค์กร  การสนทนากับเพื่อนด้วยโปรแกรมแชทต่างๆและการเล่นเกมในเวลาทำงาน  พฤติกรรมดังกล่าวจัดเป็นทรัพยากรคอมพิวเตอร์ขององค์กรอย่างไม่เหมาะสม  ทำให้ปริมาณงานลดน้อยลง องค์กรมีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วย           
           
        3. การแบ่งปันสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม  ผู้ใช้งานไอทีและผู้ใช้ทั่วไป  มักมีการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกันอยู่เสมอ  เนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่เเลกเปลี่ยนกัน  บางครั้งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น  นับว่าเป็นการเปิดเผยความลับขององค์กรให้บุคคลอื่นทราบอาจไปถึงมือคู่แข่งทางธุรกิจ  และสร้างความเสียหายแก่องค์กรได้ในที่สุด  































บัญญัติ 10 ประการ ในการใช้คอมพิวเตอร์

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำอันตรายต่อผู้อื่น
2. ต้องไม่แทรกแซงหรือรบกวนงานคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
3. ต้องไม่สอกแนมไฟล์คอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอรืในการลักขโมย
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพยานเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกหรือใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธ์โดยไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้จ่ายค่าตอบเเทนอย่างเหมาะสม
8. ต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
9. ต้องตระหนักถึงผลที่ตามมาต่อสังคมที่เกิดจากโปรแกรมที่ตัวเองเขียนหรือกำลังออกแบบอยู่เสมอ
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่พิจรณาดีแล้วว่าเหมาะสมและเคารพต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเสมอ





Biten Chocolate Bar Biten Chocolate Bar

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น